ขา Web Designer และ Web Developer คงได้เฮกันอีกครั้ง เมื่อ Adobe ได้ปล่อยรุ่นที่ 2 ของเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการพัฒนา Web บน Mobile Device อย่าง Adobe Shadow มาให้ได้ load ไปใช้งานกัน ดูรายละเอียดด้านในได้ครับ
สำหรับใครที่อยากรู้ว่า Adobe Shadow มีจุดประสงค์ในการใช้งานอย่างไร คลิกดู Video สาธิตได้ที่นี่ หรือคลิกที่นี่เพื่ออ่านบทความแนะนำ Adobe Shadow จาก FlexBlog ครับ
1. รองรับ Localhost URL
ใครที่ได้ลองเวอร์ชั่นก่อนหน้าของ Adobe Shadow น่าจะร้อง “อ่าห์…” ไปตามๆ กันเมื่อทำการทดลองกับ Website ใน localhost ของตัวเอง เพราะ Adobe Shadow ไม่ทำการแสดงผล แต่ในเวอร์ชั่นนี้ได้รับการปรับปรุงแล้วครับ
2. Adobe Edge Integration
ใครที่ใช้ Adobe Edge ก็ได้เฮเหมือนกัน คราวนี้ Adobe Edge ที่ถูก Preview บน Chrome จะสามารถถ่ายทอดไปแสดงผลบน Adobe Shadow ได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ได้เฉพาะ Chrome (ที่ติดตั้ง Adobe Shadow Extension นะ) ตัวอื่นหมดสิทธิ์
3. รองรับ HTTP Authentication
ในเวอร์ชั่นใหม่นี้ถ้า คุณเปิดเว็บไปเจอ Web page ที่มี HTTP Authentication ล่ะก็ Adobe Shadow ก็จะสามารถแสดงผลหน้า login ได้อย่างถูกต้องแล้ว
และในกรณีที่คุณใส่ username/password ไปกับ URL (อย่างเช่น http://login:[email protected]) Adobe Shadow ก็จะทำการ Authenticate ให้ครับ
4. รองรับ The New iPad (3rd Generation)
แน่นอนว่าทุกคนคงเฝ้ารอการมาถึงของ The new iPad ซึ่งรวมถึง Web Designer อย่างคุณเช่นกัน
เพราะต่อไปการสร้าง Web ก็ต้องทำการทดสอบบนหน้าจอสุดละเอียดยิบของศาสดาผู้ล่วงลับอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเวอร์ชั่นนี้ Adobe Shadow ก็พร้อมที่จะทำให้งานของคุณง่ายขึ้นแล้วครับ
5. ปรับปรุงวิธีรับมือกับ Cache
ถ้าคุณได้ลองใช้งาน Adobe Shadow เวอร์ชั่นแรกไปเรื่อยๆ อย่างมีความสุข
จะพบว่าบางทีเจ้า Adobe Shadow ก็ไม่ refresh ส่วนที่แก้ไขสดๆ ของ Web Page ที่เราเพิ่ง refresh บน Google Chrome ซะยังงั้น?!
นั้นเป็นเพราะ Adobe Shadow มี Cache ของตัวเองครับ ในเวอร์ชั่นใหม่นี้ Adobe Shadow เลยให้เราสามารถสั่ง Refresh Cache โดยการใช้น้ิวจิ้มที่หน้าจอค้างไว้จนมันขึ้นข้อความว่า “Release to refresh” แล้วค่อยยกน้ิวขึ้นครับ
6. รองรับ Amazon Kindle Fire
ส่วนนี้อาจจะไม่หวือหวาเท่าไหร่นัก เพราะบ้านเรา Amazon ยังไม่ทำตลาดเครื่อง Kindle Fire แต่ Adobe ก็ได้ปล่อย Shadow ไปรอบน Amazon Appstore แล้วครับ
7. URL Monitoring
ในเวอร์ชั่นแรกนั้น Adobe Shadow ไม่ใส่ใจสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ใน URL ของ Web page สักเท่าไหร่นัก
อย่างเช่นการใช้ ‘#’ ใน anchor link ก็ทำงานไม่ได้ รวมถึงการใส่ URL parameter ซึ่งใน Chrome ไม่มีปัญหา แต่ใน Shadow กลับไม่เล่นด้วย ก็ได้รับการแก้ไขใน Release 2 แล้ว
สรุป
Adobe Shadow นั้นแม้ว่าจะยังนอนอยู่ใน Adobe Labs แต่ก็มีความสามารถที่โดดเด่น และเริ่มมีการปล่อยอัพเดตที่ต่อเนื่องออกมา จนอดคิดไม่ได้ว่ามันจะกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือของ CS6 ที่กำลังจะออกมาในไตรมาสที่ 3 นี้หรือเปล่านะ?
ใครยังไม่ได้ download ไปลองใช้งานกัน คลิกเข้าไปที่ Adobe Labs ตรงนี้ และ download มาติดตั้งใช้งานกันนะครับ
เพื่อนพี่น้อง คิดว่าเป็นไปได้ไหมครับ? แล้วใช้แล้ว ชอบ ไม่ชอบอย่างไรแชร์กันด้านล่างได้เลยครับ
บทความนี้ถูกโพสขึ้นครั้งแรกที่: NextFlow.in.th