ถึงแม้ว่า MongoDB จะมี Mongo Shell แบบพื้นฐานมาให้เหล่าแอดมินสามารถจัดการฐานข้อมูลได้
แต่สำหรับหลายๆ คนก็คงกำลังมองหาหน้าตา GUI สวยๆ เหมือนตอนใช้ MySQL Workbench หรือเอาอย่างน้อยขอแบบ Web Client ของ phpMyAdmin ก็ได้ ถูกไหม?
โค้ชพลไปสอนในงานอบรม MEAN Stack และ Meteor Framework มาหลายที่ ซึ่งก็ใช้ MongoDB เป็นฐานข้อมูลทั้งหมด พี่ๆ น้องๆ Admin หลายคนก็ถามเข้ามาถึงเจ้า GUI สวยๆ นี่แหละ
โค้ชพลเลยเอาตัวที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว และมันใช้งานได้ดีมาแนะนำด้านล่าง และมีลิ้งค์เปิดไปยังตัวที่คล้ายๆ กัน เผื่อจะเลือกเอาไปลองกัน
โดยจะมีทั้งแบบ Web UI และเป็น Native Client สำหรับติดตั้งไว้บนคอมนะ
ฝั่ง Web UI: mongo-express
ราคา: ฟรี
สำหรับคนที่ต้องการแบบ phpMyAdmin ที่แสนคุ้นเคย สามารถเลือก mongo-express ตัว MongoDB Management ในรูปแบบ Web-based เอาไปใช้งานได้ครับ
โดยความสามาถเด่นๆ นอกจากสร้างและจัดการ Database และ Collection ใน MongoDB แล้ว ยังมี:
และถ้าสนใจตัวเลือกอื่นๆ ที่เป็น Web Client เหมือนกับ mongo-express ก็สามารถเลือกจากด้านล่างนี้ได้ โดยโค้ชพลคอมเม้นเพิ่มเติมไว้ในวงเล็บครับ
- PHPMoAdmin (สร้างจาก PHP)
- RockMongo (สร้างจาก PHP)
- adminMongo (สร้างจาก NodeJS และ ExpressJS)
- HumongouS.io (มี UI สำหรับ Smartphone และ Tablet ด้วย)
- Fang of Mongo (สร้างด้วย Django และ JQuery
ฝั่ง Native Client: Robomongo
ราคา: ฟรี
จำได้ว่าพอทีมงาน Robomongo ประกาศโครงการระดมทุนบน Indiegogo โค้ชพลไม่รอช้า กดสนับสนุนทันที
เพราะความสามารถแต่ละอย่างของ Robomongo นั้นเป็นสิ่งที่ Database Admin หลายๆ คนนั้นไม่มีไม่ได้ครับ เช่น
1. Cross platform
ติดตั้ง และใช้ได้บน Windows, Mac OS X, และ Linux โอ๊ เย่!
2. Integrate MongoDB Shell
เรียกใช้ MongoDB Shell ได้จากในโปรแกรม
3. Auto Completion
แสดงชื่อ collection และ properties แบบ real-time เลยล่ะ
4. Asynchronous, Non-blocking UI
ทุกๆ การทำงาน จะทำงานแบบ Asynchronous ไม่มีการไปขวางการทำงานของฐานข้อมูลที่ทำงานอยู่แน่นอน
น่าเสียดายที่ยอดระดมทุนไปไม่ถึงเป้า แต่ทีมพัฒนาได้เงินทุนมาส่วนหนึ่งสำหรับการพัฒนาไปอีกสักระยะ และจะเปลี่ยนเป็นเวอร์ชั่นติดโฆษณาสำหรับเวอร์ชั่นฟรี พร้อมขาย Support ด้วย (ตัวโปรแกรมเปิดให้ดาวน์โหลดไปใช้งานฟรีเหมือนเดิม)
ไปดาวน์โหลด Robomongo ได้ที่นี่
ตัวเลือกอื่นๆ ที่เป็น Native Client
นอกจากนี้ยังมีตัวอื่นๆ ให้เลือกทดลองใช้ให้เหมาะกับสไตล์การทำงานของตัวเอง โค้ชจะมีคอมเม้นเพิ่มเติมในวงเล็บให้ด้วย ลองดูรายการด้านล่าง
- NoSQL Manager for MongoDB (ตีคู่มากับ Romomongo, สำหรับ Windows)
- MongoVUE (สร้างด้วย .NET)
- UMongo (ชื่อเดิม JMongoBrowser, ลงได้ทั้ง Windows, OS X, Linux)
- MongoHUB (สำหรับ OS X, import export ข้อมูลจาก MySQL, CSV, และ JSON ได้)
เพิ่มเติม
หวังว่ารายชื่อพวกนี้ จะทำให้พี่น้องสามารถใช้งาน MongoDB ได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะใช้ MEAN Stack หรือ Meteor หรืออะไรอื่นๆ ที่อาจจะใช้ MongoDB อีกในอนาคต
วันนี้โค้ชพลขอตัวก่อนนะ แว้บ
อ้างอิง – MongoDB