ใครที่ได้ดูงาน Google I/O เมื่อวาน ก็คงต้องตื่นเต้นไปกับการเปิดตัว Google Glass ตอนนี้ก็เป็นที่กล่าวขานไปทั่ว Internet เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากแต่ในขณะที่ผมมองดูเจ้า hardware product ชิ้นใหม่จาก Google นี้ (ไม่นับ Nexus 7 และ Nexus Q) ก็รู้สึกถึงคลื่นลูกใหม่ที่ห่างหายไปนาน กำลังจะกลับมาซัดซาดอีกครั้ง
คลื่นลูกนี้เคยพัดมาถึงโลกของเราครั้งหนึงแล้ว
ใช่แล้วครับ ผมกำหลังหมายถึงรูปแบบการใช้งาน computer น่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะรูปแบบของ Google Glass นั้นไม่เหมือนกับ Tablet หรือ Smartphone ซึ่งเคยนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่โลกของเรา แบบที่เปลี่ยนจากเม้าส์ มาสู่ touch screen
Google Glass น่าจะนำการปฏิวัติมาสู่การออกแบบ 3 แขนง ที่ผมคาดการณ์เอาไว้ มาดูกันว่าคุณเห็นด้วยหรือเปล่า?
1. Interaction Design
เห็นได้ชัดแล้วว่า Google Glass ไม่ได้มีรูปแบบการควบคุมด้วย Mouse, Keyboard, หรือแม้แต่ใช้นิ้วสัมผัส
แม้รูปแบบการโต้ตอบยังเป็นปริศนาอยู่ เพราะมันไม่ได้ถูกโชว์ในงาน แต่ถ้ามองจาก Concept video แล้ว ถ้าจะให้ใกล้เคียงที่สุด…
คือลูกตา และเสียงของเรานั่นเองครับ
ซึ่งการใช้ลูกตาในการกลอกไปมา รวมถึงการ “จ้อง” เพื่อไปกระตุ้นการทำงานของ Google Glass น่าจะเป็นประสบการณ์ใหม่สำหรับพวกเราทีเดียว (สำหรับด้านเสียง ดูจะไม่มีอะไรใหม่เท่าไหร่แล้ว เพราะตั้งแต่การมาของ Siri เราก็คงได้แต่เฝ้ารอให้ hardware มันเข้าใจสำเนียงของเราได้ดีจริงๆ สักที)
เอาเป็นว่า ผมคงต้องเรียนรู้วิธีการใช้ Google Glass คล้ายๆ กับตอนที่ผมหัดใช้เม้าส์ครั้งแรกกลายๆ ละมั้ง 🙂
2. Content Design
โลกของ Content Design นั้นแม้ว่าใจความหลักจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนักในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่หลังจากการปะทุของยุค Mobile device ทำให้หลักการออกแบบตายตัวบนหน้าจอ PC เกือบทั้งหมดนั้นแทบนำมาใช้ไม่ได้บน Smartphone และ Tablet
โดยส่วนการเปลี่ยนแปลงทาง Digital content แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- โลกของสิ่งพิมพ์ที่ขยายออกเป็น Digital Publishing เพิ่มมิติในการโต้ตอบ และนำเสนอเนื้อหาสิ่งพิมพ์ได้มากกว่าเดิม
- โลก Web content ที่ต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นแบบ responsive และ adaptive design ที่โครงสร้างของ website สามารถยืด-ขยายได้ตามขนาดหน้าจอของ device
- โลกของ Application ที่เหมือนเป็นโลกใหม่ การสร้างและทำเงินจาก Application ง่ายและชัดเจนขึ้น รวมถึงการออกแบบ Application ที่เหมาะสมกับการควบคุมแบบใช้มือ (Gesture) แทนการใช้ Mouse และ Keyboard แบบเดิม
ซึ่งใน Google Glass ขนาดของหน้าจอนั้นเรียกได้ว่าอยู่ในตำแหน่งที่เราไม่เคยคิดมาก่อน นั่นคืออยู่หน้าดวงตาของเราข้างหนึงนั่นเอง
Content ที่ออกแบบมา จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้แบบไหนกันถึงจะสะดวกที่สุด? เพราะมันไม่ได้อยู่ในมือของเราแล้วนะ มันลอยอยู่ด้านหน้าของพวกเรา
ถ้าให้เดา content นั้นต้องกลืนกับภาพที่อยู่ตรงหน้าเราให้ได้มากที่สุด ในที่นี้คงจะไม่พ้นเทคโนโลยี Augmented Reality นั่นเอง
แน่นอน ต้องไม่บังการมองเห็นด้วยนะ
3. Communication Design
ทั้งในงานเปิดตัว และ Concept video ต่างก็มีการโชว์การใช้งานร่วมกันของ technology ในปัจจุบันอย่างเต็มที่
ทั้ง Geolocation, Camera, Augmented Reality, Video Conference, Map และอีกมากมายที่เหมือนจะพาคุณเข้าไปอยู่ในหนัง Sci-Fi เลย
ในยุคของ Mobile Device ที่เราอยู่ทุกวันนี้ อุปกรณ์มือถือที่ถูกฝังเทคโนโลยีเข้าไป เหมือนจะเป็นแค่การทดลองของสิ่งที่จะมาแทนที่ในอนาคตเท่านั้น
ยิ่งโดยเฉพาะ Google Glass ที่ถูกเรียกว่าเป็น Wearable Device จะอยู่กับคุณเหมือนกับแว่นตาอัจฉริยะ การออกแบบการสื่อสารน่าจะเป็นอะไรที่น่าสนุกทีเดียว
อย่างเช่นการมองโต๊ะสวยๆ สักตัว แล้วสามารถค้นหาได้ว่าสามารถโต๊ะตัวนี้ได้ที่ไหน
หรือให้นักข่าวใส่ไปทำข่าวแนวหน้าในสถานการณ์ล่อแหลม ก็คงสามารถได้ภาพมาอย่างที่ไม่ต้องแบกของเยอะแยะ
ขออย่างเดียว อย่าให้ Ads โผล่มาเยอะเกินไปแล้วกัน
สรุป
จากการประกาศของ Google กว่า Google Glass จะได้ฤกษ์ส่งถึงมือ developer ที่ไปร่วมงาน Google I/O ก็ช่วงปี 2013 โน่น ซึ่ง Google Glass น่าจะไม่ได้มาแทนที่โลกของ Smartphone และ Tablet โดยสมบูรณ์ แต่ก็น่าจะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เป็นที่นิยมในวงกว้าง (ถ้าราคาไม่แพงเกินไป)
ก่อนหน้านั้นคงจะเริ่มมี Guideline ออกมาจากทาง Google เรื่องการออกแบบ content ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Application, Digital publishing, Multimedia, และรูปแบบการใช้งานออกมาเป็นระยะอย่างแน่นอน
แล้วคุณล่ะ? คิดว่าการออกแบบทั้ง 3 ข้อที่ผมอ้างถึง จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใดบ้าง เมื่อโลกนี้เปลี่ยนจาก Mobile device เป็น “Wear-a-ble” device? 🙂
ดู video เกี่ยวกับ Google Glass Concept ได้ด้านล่างครับ