Google Flutter

Google Flutter: วิธีปรับอัพเดตเวอร์ชั่นของแอพ iOS และ Android

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - Google Flutter

พอดีมีคนในคอร์สวิดีโอออนไลน์ถามมาว่า เออ ถ้าจะอัพเดตเวอร์ชั่นของแอพ ก่อนเอาขึ้น Play Store (Android) หรือ App Store (iOS) เนี่ยต้องทำตรงไหน ยังไงบ้าง

เออ ไหนๆ ก็ไหนๆ ขอเขียนแชร์ไว้เลยดีกว่า

ตามมาด้านล่างเลยครับ

วิธีอัพเดตเวอร์ชั่นของแอพใน Google Flutter

สำหรับโปรเจค Flutter นั้น ทางทีมงานจัดรูปแบบของการกำหนดเวอร์ชั่นของแอพได้ค่อนข้างสะดวกในการแก้ไข นั่นคือในไฟล์ pubspec.yaml นั่นเอง

ให้แก้ไขในส่วน ที่ชื่อว่า version ครับ

version: 1.0.0+1

จากนั้น บันทึกไฟล์ครับ

คิดว่าเสร็จแล้วใช่ไหม?

ยังไม่เสร็จครับ อย่างน้อยให้เรารันคำสั่งด้านล่าง ใน Terminal ก่อน (หรือจะกด run ทดสอบแอพจากใน Visual Studio Code ก็ได้)

เพื่อให้ Flutter นำค่าที่เรากำหนดไว้ในไฟล์​ pubspec.yaml ไปใช้ในแต่ละ Mobile Platform

flutter run 

และระหว่างที่เรารอ เรามาทำความเข้าใจก่อนว่า เจ้าเลข 3 หลักกับ 1 บวก นี่มันหมายถึงอะไร โดยเฉพาะสำหรับคนที่เพิ่งมาเริ่มทำ Mobile Application กับพลตรงนี้ จะได้รู้เพิ่มมากขึ้นครับ

สำหรับ Android

สำหรับพวกเราที่ต้องการแอพ Android นอกจากคำสั่ง flutter run แล้ว การรันคำสั่งเพื่อสร้างไฟล์ AAB หรือคำสั่งสร้างไฟล์ APK ก็ทำให้ได้ผลแบบเดียวกันครับ

flutter build appbundle
flutter build apk

และการรันคำสั่งทั้ง 2 แบบนี้เอง จะทำให้ flutter นำค่าทั้ง 2 ไปไว้ในไฟล์ local.properties ซึ่งจะถูกไฟล์ build.gradle นำไปใช้ในกระบวนการสร้างไฟล์อีกทีหนึ่ง

ที่นี้เจ้าค่าเลข 3 หลัก กับ +1 นี่คือ Version Name กับ Version Code ครับ

ถ้าเอาสรุปเร็วๆ

  • Version Name คือเวอร์ชั่นที่ผู้ใช้สามารถดูได้ผ่านข้อมูลของแอพในเครื่อง หรือ Play Store นั่นเอง
  • Version Code เป็นส่วนสำคัญที่ Play Store และระบบ Android จะใช้แยกแยะว่าไฟล์ APK, AAB นี้ใหม่กว่าที่มีอยู่เดิมหรือไม่ เพื่อรับเข้า Play Store โดยปกติจะเริ่มที่ 1 และถ้าต้องการให้ Play Store รับไฟล์เวอร์ชั่นใหม่เข้าไป ต้องแก้ให้ค่า Version Code สูงขึ้นกว่าตัวเดิมที่ส่งเข้า Play Store ไปแล้ว
1.0.0+1
VersionName+VersionCode

พลเคยเขียนอธิบายเรื่องสิ่งที่ควรเช็คก่อนปล่อยแอพ Android (Release Android) ไว้ที่นี่ ถ้าว่างไปอ่านเสริมได้เลยครับ

สำหรับ iOS

สำหรับพวกเราที่ต้องการแอพ iOS นอกจากคำสั่ง flutter run แล้ว การรันคำสั่งสร้างไฟล์ IPA ก็ทำให้ได้ผลแบบเดียวกัน

flutter build ipa

แต่สำหรับพวกเราที่ใช้ Xcode ในการสร้างและส่งแอพ iOS ขึ้น App Store ให้ใช้คำสั่ง flutter run ก็อาจจะสะดวกกว่า เลือกได้ตามชอบครับ

และคล้ายกับฝั่งของ Andorid เจ้าค่าเลข 3 หลัก กับ +1 ในฝั่ง iOS นี่คือ Version Number กับ Optional Build Number ครับ

ถ้าเอาสรุปเร็วๆ

  • Version Number คือเวอร์ชั่นของแอพที่จะถูกใช้อ้างอิงทั้งในระบบของอุปกรณ์ และ App Store
  • Optional Build Number เป็นแค่ตัวกำหนดเวอร์ชั่นย่อยตามชื่อของมันครับ
1.0.0+1
Version Number+Optional Build Number

อ้างอิง – Flutter Android, Flutter iOS, StackOverflow

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save