Mobile Application Development

6 เทคนิคทำแอพ ที่เอามาใช้ในอุปกรณ์ Dual Screen ได้

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - Dual Screen, Mobile Application Development

หลังจากที่เราได้ดู 3 ลักษณะเด่นของอุปกรณ์หน้าจอคู่ (Dual Screen Device) ไปแล้ว หลายคน inbox เข้ามาพูดคุยกันเยอะเลยครับ แต่คำถามหนึ่งที่ได้รับจากกลุ่มคนทำงานคือ

มีแนวทางเดิมไหน สามารถเอามาใช้กับอุปกรณ์ Dual Screen ได้บ้าง?

เพราะอุปกรณ์หน้าจอคู่นั้น ไม่ได้เป็นอุปกรณ์ที่แหวกแนวการใช้งานแบบปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง เหมือนยุคคอมพิวเตอร์ มาเป็นอุปกรณ์พกพา แต่เป็นการเพิ่มรูปแบบการใช้งานใหม่เข้ามามากกว่า

เหมือนที่เรามี Smart phone จากนั้นก็มี Tablet เพิ่มเข้ามา ไม่ได้มีการใช้งานที่แตกต่างกันมาก

ดังนั้นในตอนที่ 2 นี้เราจะมาดูว่า ความรู้ที่เราใช้ในการพัฒนา Mobile และ Web Application อะไรบ้าง ที่สามารถเอามาใช้ในอุปกรณ์หน้าจอคู่นะครับ

การวาง Layout ของแอพแบบ Responsive

จากแนวคิดการออกแบบ Layout แบบ Responsive ตั้งแต่ Web ไปถึง Mobile Application ทำให้เราสามารถวางหน้าตาของเนื้อหา โดยไม่กำหนดเจาะจงบนขนาดหน้าจอ หรือรูปแบบการจัดถือแบบในแบบหนึ่ง ซึ่งแนวคิดนี้ยังสามารถเอามาใช้ในอุปกรณ์หน้าจอคู่อีกด้วย

ซึ่งถ้าแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ของเรา ออกแบบขึ้นมาจากแนวคิด Responsive Layout ตั้งแต่ต้น การนำแอพพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ดังกล่าว มาใช้ในอุปกรณ์หน้าจอคู่ มักจะไม่มีงานเพิ่มเติมมาก

แต่รูปแบบของอุปกรณ์หน้าจอคู่ จะเป็นการเพิ่มส่วนที่อาจจะกลายเป็นประโยชน์ หรือจุดเด่นของแอพ หรือเว็บไซต์บนอุปกรณ์พวกนั้นแทนครับ เช่น

  1. แนวตั้ง – portrait (taller view)
  2. แนวนอน – landscape (wider view)
  3. แนวตั้งแบบ 2 จอ – dual-portrait (portrait แบบความกว้างเป็น 2 เท่า)
  4. แนวนอนแบบ 2 จอ – dual-landscape (landscape แบบความสูงเป็น 2 เท่า)

แต่ถ้าแอพ หรือเว็บไซต์ของเรา ไม่ได้ออกแบบตาม Responsive Layout อย่างเหมาะสม ก็มักจะกลายเป็นโจทย์ ที่เจ้าของแอพ หรือเว็บไซต์ อาจจะต้องกลับมาพิจารณาอีกครั้ง เมื่ออุปกรณ์หน้าจอคู่ หรือ Dual Screen Device กลายเป็นความต้องการของลูกค้า

ซึ่งหาก UI หรือเนื้อหาบนแอพ หรือเว็บไซต์ ต้องอ้างอิงกับขนาดหน้าจอ ก็จะมี API ของระบบนั้นๆ ที่สามารถทำได้อยู่แล้ว ส่วนนี้ลองดูในด้านเทคนิคได้

การพิจารณาการใช้งาน ในทุกรูปแบบของการจับวางอุปกรณ์

โดยปกติ ตอนเราทำเว็บ หรือแอพพลิเคชั่น เราจะมีวิธีพิจารณาการจับถืออุปกรณ์ของผู้ใช้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

  1. แนวตั้ง (Portrait)
  2. แนวนอน (Landscape)

ซึ่งรูปแบบการจับถืออุปกรณ์เพื่อใช้งานแอพพลิเคชั่นของผู้ใช้นั้น มักจะมาจากรูปแบบของหน้าตาแอพพลิเคชั่นด้วยครับ

เช่น ถ้าเกิดแอพพลิเคชั่นของเรา เน้นไปที่การกรอกข้อมูล ผ่านช่องกรอกจำนวนมาก พฤติกรรมของผู้ใช้มักจะจับวางอุปกรณ์หน้าจอคู่ ในรูปแบบแนวนอน วางบนพื้นราบ ที่มีคีย์บอร์ดอยู่จอล่าง มากกว่าถือแนวตั้ง

อุปกรณ์หน้าจอคู่ ตามชื่อเลย คือมีจอแบบเดียวกัน 2 จอ จึงเหมือนมีพื้นที่เพิ่มขึ้นสำหรับการทำงานหลายๆ อย่างพร้อมกัน ซึ่งเหมือนกับที่เราคุยกันในหัวข้อด้านบน มันเพิ่มรูปแบบของการใช้งานมากขึ้น

จึงกลายเป็นโจทย์สำคัญที่ผู้สร้างแอพ ต้องเอารูปแบบการใช้งานตามแนวทางต่างๆ มาพิจารณา ว่าจะปรับการใช้งานแอพ ให้เข้ากับตัวอุปกรณ์ไหม

ทาง Microsoft ได้ให้ข้อมูลการศึกษาผู้ใช้ที่น่าสนใจว่า ผู้ใช้มักจะชอบพิมพ์ข้อความ หรือเขียนบนพื้นเรียบ ถ้าแอพของเราเน้นไปที่การใช้งาน 2 แบบนี้ เจ้าของแอพก็อาจจะปรับการใช้งานให้พร้อมใช้ในรูปแบบการวางเครื่องแนวนอน (landscape layout)

Multi-tasking บนอุปกรณ์ที่มี 2 หน้าจอ

การรองรับการใส่ข้อมูลหลากหลายแบบ

หลายๆ อุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น Smart phone, Tablet, หรือ Dual-screen ก็มักจะรองรับการใส่ข้อมูลแบบหลายรูปแบบอยู่แล้ว เช่นการพิมพ์, การแตะใช้งาน (touch) และการเขียนด้วยปากกา

หลายๆ คนอาจจะคิดว่า จริงๆ เราทำแค่วิธีพื้นฐานอย่างการทำแบบฟอร์ม ให้กรอกตามปกติก็ได้

แต่จากประสบการณ์ใช้งานจริง พลเชื่อว่า เราเองก็ต้องมีความรู้สึกว่า อยากใช้แอพนี้ในรูปแบบที่เราถนัด เช่น อยากใช้ปากกาเขียนจังเลย หรืออยากจับจอนอนตั้งโต๊ะ จะได้มีเวลากรอกง่ายๆ อยู่ใช่ไหมล่ะ?

ดังนั้นประโยชน์ของการออกแบบแอพ หรือเว็บไซต์ให้รองรับการใส่ข้อมูลด้วยวิธีที่หลากหลาย จะสร้างความพอใจให้ผู้ใช้ได้ มากกว่าแอพแบบเดียวกันที่มีวิธีการใส่ข้อมูลแบบเดียวครับ

แน่นอนว่า การทำแอพที่รองรับได้หลากหลายแบบนี้ จะใช้เวลา และทรัพยากรมากกว่า แอพที่รองรับแบบเดียว แต่ถ้าพิจารณาถึงการใช้งาน และเม็ดเงินในธุรกิจด้านนี้ปัจจุบันแล้ว ก็ดูคุ้มค่าที่จะสร้างความแตกต่างทีเดียวครับ

Drag-and-drop ลากและวาง

การลากและวาง (Drag & Drop) เป็นหนึ่งในรูปแบบการใช้งานที่สืบทอดมาตั้งแต่ยุคคอมพิวเตอร์ และยังได้รับความนิยมแม้มาถึงยุคของ Smart phone และ Tablet แล้ว

รูปแบบของ Drag & Drop นั้นถูกมองว่าใช้งานได้ดีในหน้าจอที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ อย่างพวก Tablet มากกว่า Smart phone และในอุปกรณ์หน้าจอคู่นี้ การใส่ความสามารถอย่าง drag & drop ก็จะเฉิดฉาดได้มากกว่าเดิมแน่นอน

ส่วนใหญ่การ Drag & Drop มักจะทำกับข้อมูลพื้นฐาน อย่างเช่น ข้อความ, รูปภาพ, หรือข้อมูลต่างๆ ซึ่งมีแนวคิดในการเอา Drag & Drop มาใส่ในแอพตามสถานการณ์ต่อไปนี้:

  • ที่ไหนก็ตามที่สามารถ ตัดเนื้อหา, คัดลอก, และวางเนื้อหาได้ ให้เพิ่มความสามารถ Drag & Drop
  • ที่ไหนก็ตามที่สามารถแชร์เนื้อหาได้ ให้เพิ่มความสามารถ Drag & Drop
  • เวลารันแอพหลายหน้าจอ (ในกรณีนี้คือ 2 หน้าจอ) ให้สังเกตว่า ผู้ใช้อาจจะอยากใช้ Drag & Drop กับหน้าจอแอพที่เปิดไว้มากกว่า 1 จอนี้ก็ได้

Picture in picture สำหรับการแสดงสื่อมัลติมีเดีย

การแสดงภาพวิดีโอ แบบ Picture-in-picture จะได้ประโยชน์จากอุปกรณ์หน้าจอคู่ได้อย่างสบาย ซึ่งโดยเฉพาะการแสดงภาพวิดีโอ พร้อมๆ กับรันแอพอื่นทำงานไปด้วยมักเป็นที่นิยมในปัจจุบัน

เพราะด้วยพื้นที่ที่มากเป็น 2 เท่าจากอุปกรณ์พกพาแบบเดิม การแสดงผลแบบ Picture-in-picture จึงถูกคาดการณ์ว่าจะได้รับความนิยมบนอุปกรณ์หน้าจอคู่ด้วย

ติดตามเรื่องราว Dual Screen Device ต่อได้ ผ่านช่องทางต่อไปนี้

เรื่องของ Dual Screen Device หรือ “อุปกรณ์หน้าจอคู่” นี้ อาจจะเทียบเท่าการมาถึงของ Smart phone ในยุคของเราได้เลย ถ้าต้องการติดตาม กดตามได้ผ่านช่องทางด้านล่างเลยครับ

อ้างอิง – Microsoft Docs

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save