AI

วิธีทดสอบใช้งาน Content Moderator ใน Azure Cognitive Service

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - AI, Azure AI, Azure Cognitive service, Azure Content Moderator
“Machine Learning & Artificial Intelligence” by mikemacmarketing is licensed under CC BY 2.0

จากความเข้าใจพื้นฐานของการดูแลสอดส่องเนื้อหาในระบบ (Text Moderation) ตัว Microsoft Azure Cognitive Service ก็มีบริการที่ชื่อ Content Moderator พร้อมให้เราเรียกใช้ได้ทันที

ดังนั้นเนื้อหาในบทความนี้ เราจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนการสร้าง Resource และได้รับรหัสกุญแจ Key มาจากวิธีทำในบทความนี้ก่อนนะครับ

เริ่มทดสอบใช้งานระบบ Content Moderator

ระบบ Content Moderator ที่เป็นหน้าเว็บให้ทดสอบใช้งาน สามารถเข้าถึงได้จากลิ้งค์นี้

1. อ้างอิงข้อมูลของ Service ที่สร้างไว้

โดยหลังจากที่เราสร้าง Content Moderator ไว้ใช้งานใน Azure Portal ของเราแล้ว ในส่วนมีส่วนที่เราต้องเอาข้อมูลมาใช้ใน Content Moderator Console ตามด้านล่าง

  1. เข้าไปในส่วน Resource Management > Keys and Endpoint
  2. ส่วน Key 1 ให้กดปุ่มทางด้านขวา เพื่อคัดลอกมาเก็บไว้
  3. ส่วน Endpoint จะแตกต่างไปตามแต่ละคน ส่วนด้านหน้าของ Endpoint ที่มีลักษณะคล้าย URL ของเว็บ https://XXXX.cognitiveservices.azure.com/ ส่วนที่เน้นตัวหนาจะเป็นชื่อสำคัญที่ต้องคัดลอกเอามาใช้ใน Content Moderator Console

2. กำหนด Resource

ให้เปิดมาที่ Content Moderator Console และในส่วนแรก เราจะกำหนดค่าลงไปดังนี้

  1. จากตัวเลือกให้เลือกเป็น [resource name].cognitiveserviceazure.com เพราะเราต้องการกำหนดชื่อของ resource ที่เราสร้างไว้ในขั้นตอนที่แล้ว เพื่อทดสอบใช้งานโดยตรง
  2. Resource Name ให้ใส่ชื่อที่ได้จากส่วนที่ 3 ลงไป (ไม่ต้องใช้ URL จนครบใส่เฉพาะด้านหน้า)

เช่นถ้า Endpoint ของเราคือ https://nextflowinth.cognitiveserviceazure.com

Resource Name ก็คือ nextflowinth

3. กำหนด Parameter ในการส่งข้อมูล

  1. ส่วนของการใช้บริการทั่วไป จะสังเกตว่า Classity (Classification) จะกำหนดเป็น True เพื่อเปิดใช้งานเป็นค่าเริ่มต้น
  2. ส่วน Header จะมีส่วน Subscription-key ตรงนี้ที่เราต้องเอา Key ที่ได้จาก Service ที่สร้างไว้มาใส่ เพื่อเข้าใช้งาน

4. กรอกเนื้อหาข้อความ

ส่วนนี้จะเหมือนกับเราส่งข้อความไปให้ระบบ Content Moderator ตรวจสอบ ตัวระบบจะวิเคราะห์ข้อความจากส่วนนี้เป็นหลัก

5. ตรวจสอบข้อมูลทางเทคนิค และกดส่งข้อมูล

  1. ส่วน Request URL ที่สร้างจากการกำหนดค่าในแบบฟอร์มขั้นตอนแรกๆ เราสามารถนำส่วนนี้ไปใช้ในโค้ดโปรแกรมได้
  2. สรุปข้อมูลทางเทคนิคที่จะส่งไปให้ทางฝั่ง Content Moderator
  3. กดปุ่ม Send เพื่อส่งข้อมูลทั้งหมด

6. ตรวจสอบผลลัพธ์การวิเคราะห์

ผลลัพธ์การวิเคราะห์จะถูกส่งกลับมา ซึ่งส่วนที่ควรสังเกตมีดังนี้

  • Response status ควรเป็น 200 OK
  • Response latency เป็นระยะเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์และตอบกลับ
  • Response Content เป็นข้อมูลที่ส่งกลับมา สังเกตว่าจะมีส่วนของ JSON ที่มีข้อมูลทั้ง Profanity (Term), Classification, และ PII

ในปัจจุบัน Azure Content Moderation ยังสามารถวิเคราะห์ Profanity ในส่วนของภาษาไทยได้ด้วย เดี๋ยวอัพเดตหน้า เรามาทดลองทำกันครับ

ติดตามเรื่อง AI และ Azure AI ได้ผ่านช่องทางต่อไปนี้

อ้างอิง – Exercise Content Moderator API Console

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save