Libra เป็นสกุลเงินดิจิตอลที่มีหัวหอกผู้นำคือ Facebook และมีพันธมิตรใหญ่ๆ อย่าง Paypal, Visa, Mastercard จึงเป็นระบบเงินที่น่าจับตามองมาก
และที่สำคัญคือมันเป็นระบบเปิดที่ให้นักพัฒนาเข้ามาใช้งานได้ด้วย
ติดตามพลได้ทาง Facebook และ subscribe YouTube ได้น้า
ใช้งานระบบ Linux บน Windows 10 ผ่าน WSL
ตามสเปคปัจจุบัน Libra.org บอกว่าตัวระบบสามารถทำงานได้บน MacOS และ Linux
ทว่าหากเรามี Windows เราจะสามารถลองทดสอบใช้งานระบบของ Libra ได้ไหม?
ได้แน่นอน เพียงแต่ต้องทำผ่าน WSL หรือ Windows Subsystem for Linux ครับ
ใครมี Windows 10 อัพเดตล่าสุดแล้ว ไปลงเตรียมพร้อมไว้ตามวิธีที่นี่ (มีวิดีโอด้วยนะ) แล้วมาเริ่มกัน
1. อัพเดต Distro ของเราก่อน
ในที่นี้พลใช้ Ubuntu เป็น Distro พระเอกของเราใน Workshop นี้ ก็ไห้เปิดขึ้นมา และรันคำสั่งด้านล่าง เพื่อให้แน่ใจว่าอัพเดตทุกอย่างแล้ว
sudo apt-get update && sudo apt-get upgrade && sudo apt-get dist-upgrade
จากนั้นให้ติดตั้ง package unzip
ไว้ก่อน
sudo apt install unzip
2. Clone Libra มาไว้ใน Distro ด้วย Git
รันคำสั่งด้านล่างต่อไปนี้ เพื่อ clone Libra มาไว้ในเครื่อเรา
git clone https://github.com/libra/libra.git
3. รันคำสั่ง Setup
cd libra
./scripts/dev_setup.sh
(ในที่นี้ปัญหา Protoc ที่หลายๆ คนเจอใน tutorial ของคนอื่นได้รับการแก้ไขแล้วนะครับ Proctoc ล่าสุดที่ติดมาจะเป็น 3.8.0 เลย – อ้างอิงของพี่ Katopz, Ibraheem)
ในที่นี้ที่ปัญหาที่พลเจอระหว่างการ Setup คือการที่ติดตั้ง package Go ไม่ได้ แต่รันคำสั่ง ./scripts/dev_setup.sh
อีกครั้งก็ไม่มีปัญหาอะไร
ถ้าการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์ก็จะเห็นข้อความประมาณนี้ครับ
4. สร้าง Client ที่เชื่อมต่อกับ testnet
testnet หรือ Test Network เป็นเครือข่ายจำลอง สำหรับการทดสอบการทำงานของระบบ และ Application ที่เราพัฒนาเชื่อมต่อกับ Libra ไม่ใช่เครือข่ายที่ใช้จริงนะจ๊ะ
จากนั้นให้รันคำสั่ง
./scripts/cli/start_cli_testnet.sh
จะเป็นการ Build และรัน Libra Client พร้อมเชื่อมต่อไปที่ Node ของ testnet
เสร็จแล้วหน้าตาจะเป็นประมาณของพลนี้ครับ
5. ทดลองสร้างบัญชีบน testnet ของ Libra
อย่างที่อธิบายว่ามันคือเครือข่ายสำหรับทดสอบ ดังนั้นให้นึกซะว่าเหมือนเล่นเกม แล้วกดโหมดพระเจ้า
เราสามารถสร้างบัญชี (Account) ขึ้นมา และสามารถเสกเงิน เข้าไปในบัญชีได้ด้วย
ซึ่งเงินที่ว่านี้ เอาไปใช้ในเครือข่าย Libra จริงไม่ได้นะ นะ นะ
รันคำสั่งต่อไปนี้
account create
ถ้าการสร้าง Account สำเร็จ จะขึ้นข้อความประมาณนี้
จากนั้นลองใช้คำสั่งด้านล่าง เพื่อแสดงรายการของ Account ที่สร้างขึ้น
account list
6. เสกเงินเข้าบัญชี (เอ๊ะ?!)
เราสามารถรันคำสั่งด้านล่าง เพื่อเสกเงินเข้าบัญชีได้
account mint 0 100
ซึ่งในที่นี้ เลข 2 ตัวหลังคำสั่ง mint
ก็คือ…
account mint [เลขไอดีของ account] [จำนวนเงิน]
เรายังสามารถใช้คำสั่งด้านล่าง เพื่อตรวจดูเงินในบัญชีได้ด้วยนะ
query balance [id]
7. โอนเงินกัน
คำสั่งโอนเงินก็เรียบง่าย เหมือนคำสั่งอื่นๆ
transfer 0 1 30
เป็นไงครับง่ายไหม? 🙂
จะเห็นว่าถึงเรามี Windows แต่ก็สามารถทดสอบใช้งาน Client ของ Libra ได้ผ่าน Linux ที่ติดตั้งจาก Windows Subsystem for Linux หรือ WSL นั่นเอง
และตัว CLI ของ Libra ก็มีรูปแบบที่ใช้งานง่ายซะด้วย ก่อนที่จะถึงการเปิดตัวใช้งานปีหน้า เราน่าจะมีเครื่องมือมากมายมาให้ทดสอบใช้งานล่ะครับ
ติดตามพลได้ทาง Facebook และ subscribe YouTube ได้น้า