BI (Business Intelligence) นั้น ในปัจจุบันกลายเป็นรากฐานสำคัญขององค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แน่นอนว่ามีของให้เลือกหลากหลายกันไป
ในวันนี้โค้ชพลจะมาขอแชร์ แนวคิดที่ได้จากการไปให้คำปรึกษา รวมถึงอบรมให้กับองค์กรต่างๆ เกี่ยวกับการนำระบบ Business Intelligence สู่โลกของโมบายล์แอพพลิเคชั่น และอุปกรณ์พกพาครับ
1. ความเป็นไปได้ที่ไม่สิ้นสุด
จะเป็นอย่างไร หากผู้ดูแลเครื่องจักร สามารถหยุดพักสายการผลิตได้ก่อนที่ระบบจะผิดพลาด โดยที่ไม่ต้องแบกคอมพิวเตอร์ไปมา แต่เป็นการดูสถานะผ่านมือถือของตัวเอง?
หากฝ่ายขาย สามารถประเมินสถานการณ์จากข้อมูลที่อัพเดตตลอดเวลา ขณะคุยโน้มน้าวลูกค้า และให้คำแนะนำเรื่องการแก้ปัญหาได้?
Mobility กลายเป็นคำที่คนไม่ค่อยพูดถึงกันแล้ว จะไปเน้นที่ Mobile Application หรือแอพมากกว่า
แต่การจะสร้าง Mobile application ที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจได้นั้น จำเป็นต้องมีการวางแผนการ (Strategy) ที่เหมาะสม ทั้งด้านเทคโนโลยีที่นำมาใช้ และความต่อเนื่องของการนำข้อมูลไปใช้งาน
เพื่อใช้ได้ประโยชน์สูงสุด สำหรับการใช้งาน BI ที่ได้ผล เพราะที่เห็นมา บางที่เอาไปใช้แบบคิดว่าแค่โยนเทคโนโลยีที่ดีที่สุด และล้ำสมัยที่สุด ก็จะได้ประสบกาณ์ BI ที่ดี ซึ่งไม่ใช่เลย
อย่างที่โค้ชพลจะชอบให้คำแนะนำว่า
QR code ไม่ใช่คำตอบที่ดีเสมอไปนะ
และดินสอ ก็ดีกว่าคอมพิวเตอร์ในหลายๆ ครั้ง
2. จำเป็นมาก ที่ต้องวางแนวทางของสิ่งที่แอพควรทำ และไม่ควรทำ
คำถามสำคัญมาก และเรียบง่ายมากที่สุดก่อนจะเริ่มสร้างแอพพลิเคชั่นให้องค์กรคือ
แอพต้องทำอะไรได้บ้าง?
คำถามนี้ มันจะก่อให้เกิดความต้องการหลั่งไหลมาเป็นพรวน ทุกๆ จินตนาการที่เราพบเห็นจากแอพของคนอื่น หรือจากหนังไซไฟ จะมาลิสต์อยู่ในรายการของแอพเรานี้
แต่จริงๆ แล้วเราสามารถจำกัดขอบเขตของคำตอบ ต่อคำถามนี้ได้ง่ายๆ นั่นคือ คนในองค์กรที่ใช้งานแอพนี้นั่นเอง
- ใครต้องการแอพพลิเคชั่น?
- ความต้องการในปัจจุบันของพวกเขาคืออะไร?
- …
เราไม่อาจจะตอบสนองทุกความต้องการได้ แต่ถ้าวิเคราะห์ดีๆ เราจะเริ่มเห็นการทำงานบางอย่างที่คนในองค์กรต้องใช้เหมือนๆ กัน จากประสบการณ์ อาจจะลองพิจารณาส่วนนั้นขึ้นมาเป็นแกนของแอพพลิเคชั่นก่อนก็ได้
แน่นอนว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นส่วนแจ้งลางาน นะ นะ นะ
ขั้นตอนการออกแบบ
หลังจากนั้น เราสามารถเริ่มออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ (User Interface ของโมบายล์แอพ) แบบง่ายๆ ขึ้นมาได้
เน้นว่าขั้นตอนนี้ไม่จำเป็นต้องเขียน Code หรือเปิดโปรแกรม Photoshop กลวิธีของ UX มักใช้ได้ผลดี ถึงดีมาก ขึ้นอยู่กับการปรับใช้ให้เหมาะสม
และเนื่องจากการสร้างนี้ เจาะจงลงไปในส่วนแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์พกพา ถ้าหากไม่มีประสบการณ์ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเป็นอย่างยิ่ง ที่ปรึกษาเนี่ยสำคัญ
เพราะขั้นตอนนี้ โค้ชพลเห็นได้ชัดเลยว่า ความฟุ้ง ความมโนส่วนตัวของบางคน จะสูง และอาจถึงขั้นมีอิทธิพลต่อตัวโปรเจคในทุกขั้นตอน
เปรียบเหมือนว่า อยากสร้างบ้านบนก้อนเมฆ ฉันเห็นอนาคต มันเป็นสิ่งที่จะดังแน่ๆ
อันนี้ ใช้ UX Process มาพิสูจน์ได้เหมือนกัน พอพลให้ลองเอา UX มาใช้ บ้านก็ลงจากเมฆมาอยู่ที่พื้นได้ง่ายๆ
ต้องคอยพิจารณาให้ดี
3. ร่วมกันสรรค์สร้างข้อมูลผ่านอุปกรณ์พกพา
การทำ BI นั้น นอกจากแสดงข้อมูลอย่างพวก Dashboard แล้ว ยังรวมถึงการเพิ่มข้อมูลด้วย และการที่อุปกรณ์พกพาอย่าง Smartphone และ Tablet นี่เอง ทำให้การสรรค์สร้างข้อมูล สะดวกกว่าเดิมหลายเท่า
ลองนึกถึง การที่สถาปนิก หรือวิศวกร สามารถใช้มือถือของตัวเองถ่ายภาพไซต์ก่อสร้าง ส่งให้กับทีมเพื่อเป็นข้อมูลหรือแก้ไขจุดบกพร่อง
หรือการที่พนักงานจากบริษัทประกัน สามารถถ่ายภาพอุบัติเหตรถยนต์ที่สถานที่จริง พร้อมส่งพิกัดยืนยันให้กับสำนักงานใหญ่ และพิจารณาอนุมัติเคลมได้อย่างรวดเร็ว
สิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นจริงในหลายๆ องค์กร
ซึ่งมาจากการพิจารณาประโยชน์ของ อุปกรณ์พกพา และโมบายล์แอพพลิเคชั่น มาเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงานเดิม ให้รวดเร็ว อัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ส่วนนี้ถ้าสนใจ พลก็มีไปบรรยาย Case studies พร้อมแนะแนวทางให้หลายๆ ที่มาแล้ว สนใจกดโทร 083-071-3373 คุยกันได้ก่อนครับ
4. ตอบรับกับข้อคิดเห็น และความต้องการอย่างต่อเนื่อง
ด้วยเทคโนโลยีของเจ้าของอุปกรณ์พกพา อย่าง Apple และ Google ที่ปรับตัว และอัพเดตอย่างไม่เหนื่อยไม่ล้านี่เอง ทำให้ทีมพัฒนา และผู้บริหารต้องแอคทีฟตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
ที่แน่ๆ เรารู้แล้วว่า iOS และ Android มันไม่หยุดออกรุ่นใหม่กันแน่ๆ
แอพพลิเคชั่นก็เช่นกัน
เมื่อเราแก้ปัญหาหนึ่งได้แล้ว ทำให้ผู้ใช้พอใจได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นคนในองค์กร หรือคู่ค้าก็ตาม ก็มักจะมีความต้องการใหม่ๆ มาเสมอ
เพราะบางทีในตอนแรก เราอาจจะมองปัญหานั้นไม่เห็นก็ได้
ปัจจุบันมีระบบ และแนวคิดต่างๆ ท่ีทำให้เราติดตาม และวิเคราะห์ความต้องการเหล่านี้ได้
เช่น การสร้างกรอบการทำงานกับ App Store ของ Apple หรือการใช้ Google Analytic for Firebase ของ Google บนระบบ Android ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง
แนวทางสำคัญคือการเฝ้าสังเกตการทำงานของผู้ใช้ในบทบาทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่ออฟฟิศ, ฝ่ายขายที่อยู่ต่างประเทศ, หรือ CEO ที่นั่งทำงานจากที่บ้านตอนเช้าใ้ห้ดี
5. การหลอมรวมกับระบบความปลอดภัยเดิม
ปกติ BI จะถูกเข้าถึงและใช้งานจากพนักงานในองค์กร ซึ่งเมื่อก่อนเราสามารถควบคุมการใช้งานได้ผ่านคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นทรัพย์สินขององค์กรเอง
แต่พอมาถึงยุคอุปกรณ์พกพา การจะพกมือถือส่วนตัว กับมือถือของบริษัทนั้น เป็นเรื่องที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน
(ถ้าได้เห็น ดูจะแปลกตามากกว่า)
เพราะในปัจจุบัน เราจะเห็นเลยว่า คนทั่วใช้อุปกรณ์เครื่องเดียวกัน ทั้งในการทำงาน และเรื่องส่วนตัว
ทำให้โมบายล์แอพพลิเคชั่นเข้ามามีบทบาทในส่วนนี้ เพราะจะทำให้ฝ่าย IT สามารถกำกับดูแลสิทธิ์การเข้าถึง และจัดการข้อมูลขององค์กรในส่วนต่างๆ ได้
และยิ่งถ้ามีการใช้งานระบบ Device Management (แน่นอนว่ามีหลายเจ้า) ฝ่าย IT ยังสามารถสั่งลบข้อมูลจากระยะไกล หรือล๊อคอุปกรณ์นั้นๆ ได้หากจำเป็น
การทำความเข้าใจเรื่อง Digital Transformation และการนำไปใช้ให้เหมาะสมกับองค์กรตัวเอง
ฟอร์มทีมให้พร้อม ในการนำ BI สู่โลกของโมบายล์แอพพลิเคชั่น
- ทางพล มีบริการออกแบบหลักสูตรสร้างแอพพลิเคชั่น iOS และ Android สำหรับใช้องค์กร และการทำงานกับ BI แบบต่างๆ โดยเฉพาะ
- หรือต้องการที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีที่สามารถให้คำแนะนำ หรือช่วยวางแผน มาปรับใช้กับองค์กรในด้านต่างๆ
สามารถติดต่อสอบถาม โทร 083-071-3373 ได้ก่อนครับ
ถ้าสนใจ สามารถดูบรรยากาศ การฝึกอบรมหรือ Workshop ได้ที่แฟนเพจ และ อัลบั้ม Flickr ของ Nextflow จ้า