Bot

มาสอน Bot ให้ฉลาด ด้วย LUIS.ai กัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - AI, LUIS.ai, Machine Learning

ยุค A.I. First นั้น เครื่องมือต่างๆ ก็ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด เพื่อให้นักพัฒนาอย่างเราๆ เอามาใช้สร้างระบบที่ฉลาด และตอบสนองทันยุคทันสมัยมากขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือเครื่องมือที่สอนให้บอทของเราเข้าใจภาษามนุษย์นั่นเอง

วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ LUIS.ai จากฝั่งของ Microsoft ครับ

รู้จักกับ LUIS.ai มันคืออะไร?

LUIS (ลูอิส) ย่อมาจากชื่อเต็มที่มีความหมาย นั่นคือ Language Understanding Intelligent Service

เป็นบริการที่เปิดให้นักพัฒนา ใช้เป็น “คู่หู” ให้ระบบใช้อ้างอิง เพื่อทำความเข้าใจคำสั่งที่เป็นภาษามนุษย์จากผู้ใช้ ที่นับวันจะมีความสำคัญมากขึ้นในยุคของ A.I.

แน่นอนว่าแต่ก่อนนักพัฒนาอาจจะใช้คำสั่ง If-else ในการแยกแยะการทำงานของแอพลิเคชั่นตามการใช้งานที่ออกแบบไว้ แต่พอมาถึงยุคที่ลูกค้าไม่ได้กดปุ่มสั่งงานอีกต่อไป แต่ใช้เป็นการ “คุย” แทน เราก็ต้องมีวิธีให้แอพเข้าใจสิ่งที่ลูกค้าสั่ง

ในที่นี้ LUIS อาศัยกระบวนการ Machine Learning ในการเรียนรู้ และเข้าใจโครงสร้างภาษา แทนการที่นักพัฒนาต้องทำเองในแอพพลิเคชั่นอย่าง Chatbot

เรียกง่ายๆ เหมือนเราจ้าง LUIS มาเป็นล่ามผู้ช่วยแปลภาษาให้ระบบของเรานั่นเอง

ส่วน LUIS นั้นเป็นของใคร มาจากไหน คำตอบคือ LUIS เป็นส่วนหนึ่งของบริการ Cognitive Service ของ Microsoft ครับ

ผลลัพธ์ที่ได้จาก LUIS จะเอาไปใช้ในแอพอย่างไร?

อย่างที่เราเข้าใจกันในส่วนแรก LUIS เหมือนเป็นผู้ช่วยงานของแอพเราอีกที ในด้านการทำความเข้าใจภาษามนุษย์ และแปลงมันกลับเป็นส่วนที่แอพพลิเคชั่นของเราเข้าใจได้ง่ายๆ

รูปแบบปัจจุบันของ LUIS หลังจากที่เราสร้าง และสอนให้มันทำความเข้าใจกับคำสั่งที่ต้องการแล้ว ก็จะเป็น Web Service มี HTTP Endpoint ที่สามารถรับส่งข้อมูลได้ (คล้ายๆ Web API)

โดยในที่นี้แอพพลิเคชั่น หรือ Chatbot ของเราจะเป็นคนส่งข้อความจากผู้ใช้ให้ LUIS เพื่อตีความ และหลังจาก LUIS ตีความแล้วจะส่ง ข้อมูลกลับมาให้แอพเราพิจารณาโต้ต้อบกับลูกค้าต่อไป

LUIS เข้าใจภาษามนุษย์ได้อย่างไร?

จริงๆ คำถามนี้ เหมือนถามว่า “เรารู้ภาษาคนได้อย่างไร?” เลยนะ

แน่นอน ต้องเกิดจากการ “สอน” ซึ่งในที่นี้ LUIS พร้อมจะเรียนรู้ภาษา และเข้าใจคำสั่งต่างๆ อยู่แล้ว แต่เราต้องเข้าใจว่า LUIS มองโลกนี้ยังไงก่อน

LUIS มองว่าคำสั่งของคนเรา ประกอบไปด้วย 3 ส่วนครับ

  1. Utterance นี่เป็นสิ่งแรกที่ LUIS จะได้รับจากแอพเรา มันคือประโยคที่ผู้ใช้พิมพ์เข้ามาในระบบของเรา และระบบส่งต่อให้ LUIS นั่นเอง เรียกว่า “คำสั่งดิบๆ” ก็ได้ เช่น
    • “ซื้อนม 2 ขวด”
    • “ที่ไหนดี”
    • “ซื้อตั๋ว Low cost ไปญี่ปุ่น”
  2. Intents ส่วนของ Intents คือสิ่งที่ LUIS วิเคราะห์รู้ว่าผู้ใช้ต้องการจะทำอะไร โดยเราจะสอนให้ LUIS แยกแยะข้อมูล และจับคู่กับ Intents ที่ถูกต้อง
    เช่น ถ้า Utterance คือ ““ซื้อตั๋ว Low cost ไปญี่ปุ่น” เราอาจจะกำหนด Intents เป็น “ซื้อตั๋ว” เป็นต้น
  3. Entities ถ้า Intents คือ “จะทำอะไร (กริยา)” Entities ก็คือ “สิ่งสิ่งๆ หนึ่ง (กรรม)” ที่ใช้ตีความเพิ่มเติมจาก Intents นั่นเอง

    เช่น ถ้าคำสั่งคือ “ซื้อตั๋ว Low cost ไปญี่ปุ่น” Entities ก็อาจจะเป็น “Low cost” หรือ “ญี่ปุ่น” ก็ได้

สรุปส่วนแรกของ LUIS

จะเห็นว่า LUIS นั้นเป็นเหมือนล่ามพร้อมใช้ สำหรับระบบของเราอีกเจ้าหนึ่งในยุค A.I. First พบกันครั้งหน้า เดี๋ยวมาดูว่าเราจะวางแผนสอน LUIS กันง่ายๆ ยังไงกันนะ

ติดตามเรื่องราวการพัฒนา Bot และ A.I. ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ได้ทาง YouTube Channel และกดติดตามแฟนเพจพลได้ที่นี่ครับ

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save