Meteor

รวม Command Line ของ Meteor Framework

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - Meteor, Meteor CLI

Meteor Framework ใช้ระบบ Command Line Integration ในการจัดการโปรเจค เรียกสั้นๆ ว่า CLI (อ่านว่า ซี-แอล-ไอ) ซึ่งพบได้ทั่วไปใน framework ที่อิงกับเทคโนโลยี Node JS ปัจจุบัน

และเพื่ออธิบายการทำงานให้เห็นภาพชัดเจน โค้ชพลเลยเอามาสรุปให้เข้าใจง่ายๆ ที่นี่

  1. meteor create: สร้างโปรเจคใหม่
  2. meteor run: รัน web server
  3. meteor debug: รัน Web server สำหรับ debug ตัวแอพพลิเคชั่น
  4. meteor deploy: ติดตั้งแอพพลิเคชั่นไปที่ server จริง
  5. meteor search/add/remove: ค้นหา, ติดตั้ง, และถอนการติดตั้งส่วนเสริมให้โปรเจค
  6. meteor update: อัพเดตเวอร์ชั่นของ Meteor และ package
  7. meteor mongo: เปิด MongoDB Shell
  8. meteor reset และ meteor startup: คืนสถานะแอพพลิเคชั่นไปที่จุดเริ่มต้น
  9. meteor help: ดูคำสั่งทั้งหมด

เอาล่ะพร้อมแล้ว มาดูวิธีใช้งานกันครับ

1. meteor create: สร้างโปรเจคใหม่

เหมือนกับการทำรายงาน โปรเจคของ Meteor framework สามารถสั่งดาวน์โหลดมาติดตั้ง และพร้อมเริ่มงานได้ผ่านคำสั่ง meteor create

โดยทั่วไป เราสามารถสั่งสร้างตัวโปรเจคใน path ปัจจุบันของโปรแกรม Terminal (Mac) หรือ Command Prompt (Windows) ได้เลย

2. meteor run: เปิด server

Meteor framework นั้น มีระบบ Web server ติดตั้งมาให้ในตัว และสามารถควบคุมผ่านโปรแกรม Command Line อย่าง Terminal หรือ Command Prompt ได้

คำสั่ง meteor run จะเป็นการรันตัว Web server ขึ้นมาที่ http://localhost:3000 เป็นค่าปกติ

ถ้าต้องการรัน Meteor ขึ้นใน port ที่ต้องการให้เพิ่มค่าเข้าไปในคำสั่งดังนี้

meteor run —port 8080

โดยเราสามารถกำหนดค่าของ –port  เป็นหมายเลขที่เราต้องการได้ครับ

หากต้องการหยุดการทำงานของ Web server ให้ใช้ปุ่มลัดดังนี้

  • Windows: Ctrl + C
  • Mac OS X: Ctrl + C

3. meteor debug

คำสั่งนี้ใช้รันตัวโปรเจคเหมือน meteor run เพียงแต่เราจะมีระบบ Node Inspector ทำงานไปพร้อมกันด้วย

Node Inspector จะทำให้เราสามารถไล่การทำงานของโค้ดในโปรเจค Meteor ได้

4. meteor deploy: เอาขึ้นออนไลน์

ถ้าตามเรื่อง Meteor มาพร้อมๆ กับโค้ชพล ก็จะทราบว่าผู้สร้าง Meteor framework ไม่ได้ปล่อยให้เราไปหา Web Hosting หรือระบบ Cloud ที่ไหน เพราะเขาเตรียมระบบพร้อมให้เราอัพโหลดขึ้นไปใช้งานได้

ระบบนี้ชื่อว่า Meteor Galaxy สั้นๆ มันคล้ายๆ Web server พร้อมใช้ ที่เราสามารถใช้คำสั่ง meteor deploy อัพโปรเจคของเราไปทำงานได้ทันที เช่น

meteor deploy teerasej_nextflowapp.meteor.com

โดยเราสามารถกำหนดชื่อของ sub-domain name ได้ตามตัวอย่าง (ถ้าซ้ำ ระบบก็จะแจ้งเตือนเราให้เปลี่ยนเป็นชื่ออื่น)

และถ้าต้องการก็สามารถจัดซื้อโดเมนเนม (domain name) รวมถึงปรับแต่งระบบต่างๆ ได้

แน่นอนว่าถ้าต้องการทำอะไรมากกว่าแต่อัพขึ้นทดสอบแอพพลิเคชั่น ก็ต้องมีค่าใช้จ่ายล่ะ

meteor search/add/remove: จัดการ package

ในโลกของการใช้โอเพ่นซอร์สพัฒนาระบบต่างๆ ซอฟต์แวร์ที่เราใช้ไม่ได้มาเป็นก้อนเดียวเหมือนอย่างแต่ก่อน (เช่นโซลูชั่นของ Microsoft หรือ Oracle) แต่เกิดจากการประกอบร่างกันของซอฟต์แวร์ตัวเล็กๆ หลายตัว

meteor ก็ถูกออกแบบมาให้รองรับกับ code ของผู้พัฒนาอื่นๆ ได้ ซึ่งส่วนชุดคำสั่งที่สามารถเสริมและติดตั้งเข้ามาในโปรเจค Meteor เราจะเรียกว่า package ครับ

เรามีคำสั่งในการจัดการ package ให้กับโปรเจค Meteor ดังนี้

  1. meteor search: ค้นหา package จากคีย์เวิร์ดที่ต้องการ
  2. meteor add: ติดตั้ง package ให้กับโปรเจค
  3. meteor remove: ถอนการติดตั้ง package ออกจากโปรเจค

เช่นถ้าโค้ชพลต้องการค้นหา และติดตั้ง package ของระบบ Ionic ที่ชื่อ meteoric ก็จะใช้คำสั่งต่อไปนี้

meteor search meteoric
meteor add meteoric:ionic

meteor update: อัพเดตโปรเจค

การดูแล และอัพเดตเวอร์ชั่นส่วนเสริมของโปรเจค Meteor ใน 1 หรือหลายโปรเจคด้วยพวกเราเองเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวมาก

ทีมพัฒนา Meteor เลยใส่คำสั่ง meteor update  เพื่อช่วยไล่ตรวจเช็คส่วนเสริม รวมถึงซอฟต์แวร์ที่เราใช้ในโปรเจค และอัพเดตให้

meteor mongo: เปิด Mongo Shell

Meteor framework ใช้ฐานข้อมูล (Database) แบบ No-SQL ที่ชื่อ MongoDB ซึ่งง่ายต่อการใช้งาน และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

คำสั่ง meteor mongo  จะเป็นการเปิด Mongo Shell สำหรับการสั่งงานตัวฐานข้อมูลโดยตรงผ่าน Command line ครับ

ในที่นี้ เราต้องสั่งรัน Web Server ด้วยคำสั่ง meteor  หรือ meteor run  ก่อน

แล้วค่อยเปิดโปรแกรม Command Line (บน Windows จะชื่อ Command Prompt, บน Mac จะชื่อโปรแกรม Terminal) ขึ้นมาอีกหน้าต่าง แล้วเราถึงจะสั่ง meteor mongo  ได้ ดังภาพด้านล่าง

meteor reset และ meteor startup

ในกรณีที่เราทดสอบตัวโปรเจค Meteor ไปเรื่อยๆ แล้ว ต้องการ “รีเซ็ต” การทำงานทุกอย่างไปสู่จุดเริ่มต้น ต้องใช้คำสั่ง

meteor reset

ซึ่งระบบจะล้างส่วนที่เป็นข้อมูลฝั่งของ client ออกไปทั้งหมด พร้อมใช้งานใหม่

แต่ถ้าต้องการเก็บข้อมูลบางอย่างที่ฝั่ง server ไม่อยากให้ Meteor ล้างออกไปใช้ให้คำสั่งด้านล่างแทน

meteor startup

meteor help: ขอตัวช่วย

ไม้ตายสำหรับคนที่จำคำสั่งทั้งหมดไม่ได้

เหมือนกับระบบ CLI อื่นๆ นั่นคือมันจะแสดงคำสั่งทั้งหมดของ Meteor CLI พร้อมคำอธิบายคร่าวๆ มาให้เลือกใช้ครับ

สรุปคำสั่งงาน Meteor framework

นั่นคือคำสั่งพื้นฐานง่ายๆ ถ้าพวกเราทำความเข้าใจให้ดี ก็จะสามารถสั่งงานได้ลื่นไหลในการจัดการโปรเจคเว็บแอพ หรือ Mobile App ได้สะดวกมากๆ

ไว้ถ้าโค้ชพลเจอคำสั่งน่าสนใจ ก็จะเอามาอัพเดตในนี้เพิ่มเติมอีกนะ

ติดตามอัพเดตดีๆ ได้ที่แฟนเพจ และ YouTube นะครับ

อ้างอิง – Meteor

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save