สงกรานต์อย่างนี้ โค้ชพลได้มีเวลาหยุดจากการจัดอบรมมานั่งมองรอบๆ ตัวเอง ว่ามีเทคโนโลยีอะไรใหม่ๆ บ้าง ที่น่าสนใจก็มีมากมายอย่าง Big Data หรือ Internet of Things แต่ที่น่าสนใจสุดๆ ก็คงเป็น Apple Watch นาฬิกา Smartwatch ของบริษัทผลไม้ผู้นำโลกดิจิตอลในยุคนี้
Smartwatch หรือนาฬิกาอัจฉริยะ ที่มากกว่าแค่ดูเวลา หรือจับเวลา เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่เนื่องจากค่าตัวที่สูงพอสมควร และยังไม่แสดงความสามารถชัดเจนพอ ทำให้ Smartwatch ฝั่งหุ่นเขียว Android ออกมาทำตลาดอย่างไม่หวือหวานัก
แต่โค้ชพลว่ามันกำลังจะเปลี่ยนไป
หลังจาก Apple Watch เปิดให้จองซื้อในวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา ยอดสั่งซื้อที่สำรวจกับคร่าวๆ นับได้ล้านเรือน ทั้งคนทำแอพก็พร้อมด้วยแอพกว่า 1,000 ตัว ทำให้คนที่เปิดฉากยุคของนาฬิกาอัจฉริยะ คงไม่พ้น Apple ที่ทำไปแล้วกับยุค Smartphone และ Tablet
แล้วถ้ายุคนั้นมาถึง ยุคที่ทุกคนต่างก็ นักออกแบบ และพัฒนาแอพก็คงไม่แคล้ว ต้องลุยลงไปทำแอพบนนาฬิกากันแน่ๆ
แต่แอพที่ดี กับไม่ดีนั้น เริ่มต้นที่การออกแบบ เรามาดูเรื่องแรกที่โค้ชพลคิดว่าเราควรเริ่มทำความเข้าใจ และศึกษากันครับ
ตอนที่ 1: 1 นิ้วก็เต็มจอ
เรื่องของการออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ (User Experience Design) กลายเป็นหนึ่งในสิ่งที่นักพัฒนาแอพต้องให้ความสนใจ โดยดูลักษณะการใช้งานบนอุปกรณ์ หรือระบบนั้นๆ เป็นหลัก ใน Apple Watch หรือ Android Wear ก็เช่นกัน
ด้วยหน้าจอที่เล็กเกือบเท่าข้อมือของเรา คือความท้าทายใหม่ที่ให้นักพัฒนาแอพชวนขบคิด
เราเคยต้องออกแบบโปรแกรม (ที่ยุคใหม่เรียกกันว่า “แอพ” อ่ะนะ) บนหน้าจอขนาดใกล้เคียงกับนามบัตรมาแล้ว มาคราวนี้จอเล็กว่า Post-it ที่โค้ชพลใช้ในการอบรมอีก
ด้วยการวางปุ่ม หรือไอคอนลงไปในหน้าจอเล็กกระจิ๋วหลิวเหล่านี้ มีโอกาสสูงมาก ที่จะทำให้นิ้วอ้วนๆ กดพลาดได้ง่าย
คราวนี้ก็ไม่ได้ใช้ 2 มือช่วยจับเหมือน Smartphone ด้วยสิ ไอนี่มันรัดติดกับแขน แล้วใช้มืออีกข้างจิ้มๆ เอา
กดพลาดง่าย = ผู้คนใช้งานรู้สึกยาก = หาแอพอื่น (แว้ก!)
แนวทางออกแบบบน Smartwatch แบบ 1 นิ้วก็เต็มจอ
เท่าที่หาดูตอนนี้ ทางออกของ Interaction แต่ละระบบก็มีให้เลือก 2 แบบใหญ่ๆ ไว้แล้ว
- Android Wear: ใช้ระบบปัดหน้าจอ เพื่อเข้าถึงส่วนต่างๆ ของแอพ (Touch, Swipe) หรือใช้เสียงสั่งงาน (Voice)
- Apple Watch: ใช้ระบบปัดหน้าจอ ทำนองเดียวกับ Android Wear แต่มีเม็ดมะยม (เจ้าของเรียกเท่ๆ ว่า Digital Crown) ในการควบคุมด้วย
ที่แน่ๆ คือปุ่มบนหน้าจอ ต้องออกไปในทางที่น้อยที่สุด หรือไม่มีเลย (ไปใช้ระบบทางเลือกแทน)
แน่นอนว่าส่วนของการโต้ตอบระหว่างผู้คนที่ใช้งานแอพ กับตัวแอพก็ต้องดูจุดประสงค์ของตัวระบบด้วย ว่าต้องการสร้างขึ้นมาใช้ทำอะไร แล้วออกแบบการใช้งานเพื่อสนับสนุนเป้าหมายนั้นๆ
อย่าอัดความหวือหวา จนการใช้งานแอพมันน่ารำคาญ เหมือนยุค Flash Website ล่ะ
สรุปตอนที่ 1
จากที่ดูและลองทำตัวทดลองขึ้นมาใช้งาน แอพที่ใช้บน Smartwatch อย่าง Apple Watch หรือ Android Wear จะแตกต่างจากแอพบน Smartphone หรือ Tablet มากพอสมควร
เป็นเพราะจุดประสงค์ของผู้สร้าง Smartwatch ที่ต้องการให้ตัวอุปกรณ์นำเสนอข้อมูลที่สั้นกระชับ (Notification) และสามารถโต้ตอบได้อย่างรวดเร็ว ในเวลาที่น้อยที่สุด…น้อยขนาดไหน? น้อยกว่าเวลาที่ใช้หยิบมือถือขึ้นมาเปิดแอพละกัน
การใช้นิ้วมือ หรือมือสั่งงานตัวแอพจะถูกบังคับให้น้อยครั้งลง หรือเต็มที่ที่สุดคือ ไม่มีเลย (Glance: ชำเลืองมองข้อมูลอย่างเดียว)
ลองเอาแนวคิดนี้ไปออกแบบแอพดูนะครับ
แล้วพบกัน กับแง่มุมอื่นๆ ในการออกแบบแอพ ให้นาฬิกาอัจฉริยะ หรือ Smartwatch ยุคนี้กันได้ที่นี่ครับ
มีความเห็นอย่างไร ลองคุยกันใน comment ด้านล่างได้นะ
เหมาะสำหรับคนทำเว็บ, เริ่มต้น JavaScript ES6 และ Angular เข้าใจง่าย, ใช้ได้จริง สอบถาม หรือติดต่อจัดอบรมโทร 083-071-3373 โปรหน้าฝน! เรียนรอบสด รับคอร์สออนไลน์มูลค่ากว่า 5800 บาทฟรี!เปิดอบรมสร้าง Cross Platform Mobile Application ด้วย Ionic Framework