กลางเดือนที่ผ่านมาในงาน Google I/O ทาง Google ได้ประกาศว่านักพัฒนา Android จะได้ใช้ CocoaPods ในการทำแอพของตัวเองด้วย ซึ่งเป็นการดีที่เราจะมาทำความเข้าใจ
CocoaPods: ผู้จัดการระบบ Library อันยุ่งเหยิงของการทำแอพ
หากจะนึกถึงการเอาพวก Library (โค้ดที่นักพัฒนาเขียนไว้เพื่อนำไปใช้ซ้ำในระบบอื่นๆ) มาใช้ในการทำแอพ iOS ยุคแรกๆ ก็ใช้นึกถึงทีมฟุตบอลที่สมาชิกทั้ง 11 คนที่ตอนแรกก็เขี่ยบอลกันดีๆ แต่ท้ายเกมต่างแย่งบอลกันเอง (นั่นหมายถึงโกลด์ออกมาแย่งบอลด้วย โอววววว)
ดังนั้นปัญหาคือเมื่อแผนการเล่นซับซ้อนขึ้น จำเป็นต้องมี “ผู้จัดการทีม” มาลำดับการรับส่งบอลของผู้เล่นแต่ละคนนั่นเอง ซึ่งนี่แหละ คือหน้าที่ของ CocoaPods ครับ
โดย CocoaPods เกิดมาสำหรับใช้งานในการพัฒนาแอพ iOS แต่ Google ก็กำลังจะนำระบบ CocoaPods มาใช้กับการพัฒนา Android
วิธีติดตั้ง CocoaPods
CocoaPods สร้างด้วยภาษา Ruby ดังนั้นคุณจำเป็นต้องติดตั้งระบบ Ruby ในเครื่องให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็น Mac OS X หรือ Windows ครับ
จากนั้นให้เปิดโปรแกรม Terminal (บน Mac OS X) หรือ Command Prompt (บน Windows) แล้วรันคำสั่งต่อไปนี้
sudo gem install cocoapods
ถ้าเจอปัญหาก็ลองดูวิธีการแก้ไขจากที่นี่
PodFile: รายชื่อนักเตะที่จะลงสนาม
ถ้าเป็นคอบอล หรือเคยดูการแข่งขันกีฬาต่างๆ ก่อนที่จะเริ่มการแข่ง มักจะมีรายชื่อนักกีฬา และตำแหน่งแสดงขึ้นมาก่อนเสมอ หรือเวลาที่ผู้จัดการทีม จะดูว่าใครจะลงแข่งบ้างก็จะมีการกำหนดชื่อผู้เล่นในรายการ ใน CocoaPods ก็เช่นกัน
ในตอนแรก โค้ชพลอธิบายว่า CocoaPods เป็นระบบที่จะมาจัดการ Library ต่างๆ ที่เราเอามาใช้ในโปรเจคแอพ iOS ของเรา ซึ่ง CocoaPods ก็จะให้ไฟล์เรามาอันหนึ่งในโปรเจค เพื่อให้เราระบุ Library ให้มันไปจัดการให้เรา
ไฟล์นี้ เรียกว่า PodFile ครับ
โดยใน PodFile เปล่าๆ นี้คุณสามารถระบุชื่อของ Library และเวอร์ชั่นที่ต้องการลงไปได้ เช่น Google App Indexing
platform :ios, '8.0' pod 'GoogleAppIndexing', '~> 1.0.0'
วิธีสร้าง Pod File ในโปรเจคแอพ iOS
ในการใช้งาน CocoaPods กับโปรเจคแอพ iOS เราสามารถใช้งาน PodFile ได้ 2 รูปแบบด้วยกัน:
- ใช้กับโปรเจคที่มีอยู่แล้ว
- ใช้กับโปรเจคที่สร้างใหม่
1. ใช้ CocoaPods ในโปรเจคแอพ iOS ที่มีอยู่แล้ว
1.1 สร้าง PodFile โดยเปิดโปรแกรม Terminal ใน folder ที่เก็บโปรเจค Xcode ไว้ แล้วรันคำสั่ง
touch PodFile
1.2 เพิ่มรายชื่อ Library ที่ต้องการ เช่น Google App Indexing
pod 'GoogleAppIndexing', '~> 1.0.0'
1.3 บันทึกไฟล์
1.4 รันคำสั่งด้านล่างในโปรแกรม Terminal
pod install
1.5 เปิดโปรเจค Xcode และสั่ง build ตัวโปรเจค
2. ใช้ CocoaPods ในโปรเจคแอพ iOS ที่สร้างขึ้นใหม่
1.1 สร้างโปรเจคแอพ iOS ใหม่
1.2 สร้าง PodFile ใน folder ของโปรเจคโดยเปิดโปรแกรม Terminal ใน folder ที่เก็บโปรเจค Xcode ไว้ แล้วรันคำสั่ง
touch PodFile
1.3 ระบุชื่อ platform และเวอร์ชั่นที่ต้องการ (ตอนใช้ได้กับ Android ก็จะมาระบุตรงนี้)
platform :ios, '8.0'
1.4 เพิ่มรายชื่อ Library ที่ต้องการ เช่น Google App Indexing
pod 'GoogleAppIndexing', '~> 1.0.0'
1.5 บันทึกไฟล์
1.6 รันคำสั่งด้านล่างในโปรแกรม Terminal
pod install
1.7 เปิดโปรเจค Xcode และสั่ง build ตัวโปรเจค
สรุป
จะเห็นว่าCocoaPods เปิดโอกาสให้เราจัดการ Library ใน iOS ง่ายขึ้นโดยการกำหนดชื่อของ Library และ version ที่ต้องการเท่านั้น เมื่อถึงเวลาที่ Google ทำให้ CocoaPods สามารถใช้งานกับโปรเจคแอพ Android ได้ ก็คงเป็นอะไรที่น่ารื่นรมย์ไม่น้อยเลยครับ
ปูพื้นฐาน React และ React Native เข้าใจง่าย, ใช้ได้จริง, เนื้อหาใช้ในการทำแอพ Enterprise ขององค์กรได้เปิดอบรม React Native สำหรับผู้เริ่มต้น
อ้างอิง – CocoaPods, Using CocoaPods