Google Polymer

รู้จักกับ Google Polymer: Web Application Framework ที่ถอดแบบจาก Android L

เรื่องที่เกี่ยวข้อง - Google Polymer

หลังจากงาน Google I/O 2014 นอกจากพวก Android L, Android Wear, Android Auto, และ Android TV แล้ว ของๆ Google อีกสิ่งหนึ่งที่ได้ขึ้นเวที ก็คือ Google Polymer มันมาจากไหน และทำไมมันถึงน่าสนใจ มาดูกันครับ

Google Polymer: แนวคิดใหม่ในการสร้าง Web Application

หาก Android L คือระบบนิเวศน์แอพตัวล่าสุดของ Google แล้ว Google Polymer ก็คือระบบนิเวศน์ในการสร้าง Web application ตัวล่าสุดของ Google นั่นเอง (คนละอย่างกับ AngularJS นะ)

โดยแนวคิดของ Google Polymer คือการแบ่งส่วนต่างๆ ใน Web Application ออกเป็นส่วนๆ (ตอนนี้เรียกกันว่า Web Component) สามารถแยกส่วน หรือประกอบกันทำงานได้อย่างอิสระ ซึ่งถ้านึกถึงของในโลกแห่งความเป็นจริง ก็คงเป็นตัวต่อเลโก้ (Lego) นั่นเอง

แนวคิดในการใช้งาน Google Polymer คือการมองส่วนต่างๆ ของ Web Application เป็นตัวต่อที่สามารถประกอบ หรือถอดออกได้อย่างอิสระ

Google Polymer และ Material Design

Google-Material-Design-

เห็นพี่เม่น เกริ่นเรื่องของ Material Design ที่ Google ใช้ชูโรงในงาน แล้วให้สังเกตว่า รูปแบบของการแสดงผล Material Design ใน Android L นั้นเหมือนกับ Google Polymer อย่างกับแกะ

ลองแวะดูแนวคิดของ Material Design ในวิดีโอนี้ก่อนอ่านต่อ

นั่นเป็นเพราะ Google ใช้ Polymer ในการทำ prototype ของ Material Design นั่นเอง! (คงเพราะ HTML, CSS, และ Javascript มันสร้างเร็วกว่าชิมิล่า)

ตอนที่ Android L Preview ปล่อยออกมาให้หลายๆ คนได้ลองกันอยู่ ทาง Google ก็กำลังพัฒนาความสามารถของ Material Design โดยมีการใช้ Google Polymer เป็นส่วนประกอบในการปรับปรุงด้วยครับ

Google Polymer เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนา Material Design ดังนั้นมันจึงถูกพัฒนาไปพร้อมๆ กัน

Google Polymer กับ Web Browser

แน่นอนว่าเมื่อมี Web framework ใหม่ปรากฎตัวขึ้นมา คำถามสำคัญคือมันทำงานบน Web browser รุ่นไหนได้บ้าง?

IE 6 โยนทิ้งไปครับ

เพราะ Google Polymer มีเป้าหมายที่จะรองรับการทำงานบน Web Browser สมัยใหม่ที่ปรับปรุงตัวเองอยู่ตลอดเวลา (Evergreen Web Browser) ซึ่ง Chrome, FireFox, และ Safari จัดอยู่ในกลุ่มนี้ รวมไปถึง IE รุ่นล่าสุดด้วย (เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป)

จากข้อมูล Chrome 36 จะเป็นเวอร์ชั่นแรกที่จะสนับสนุนการทำงานทุกอย่างของ Polymer แบบ Native

สามารถทำงานบน IE 9 ได้เกือบสมบูรณ์ และใน IE 8 อาจทำงานได้กระท่อนกระแท่น

ดูการสถานะความเข้ากันได้กับ Web Browser ต่างๆ ที่นี่ครับ

ข้อแตกต่างของ Polymer เมื่อเทียบกับ Bootstrap ของ Twitter และ Topcoat ของ Adobe

bootstrap-twitter

หากดูผิดเผินทั้ง 3 ตัวจะคล้ายกันมาก เพราะมันเหมือนเป็น UI Framework ที่ใช้ออกแบบหน้าตาของ Website หรือ Web Application ได้อย่างรวดเร็ว

แต่ถึงแม้ว่าตัว Google Polymer จะมีชุด UI ของตัวเอง Google ยังให้ความสำคัญต่อระบบแกนหลักของมันเอง คือการรวมระบบ Web Component ต่างๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้นักพัฒนาสามารถประกอบความสามารถต่างๆ ใช้งานได้โดยง่าย

ความเกี่ยวข้องของ Google Polymer กับ AngularJS, Closure, และ Google Web Toolkit

ข้อมูลตอนนี้คือ Polymer ไม่มีความเกี่ยวข้องกับทั้ง 3 ตัวเบื้องต้นเลยครับ

อย่างที่แนวทางของ Polymer บอกไว้ ว่าแกนหลักของระบบคือ การแบ่งส่วนต่างๆ ของ Web เป็นตัวต่อที่สามารถเสียบเข้า ถอดออกได้อย่างอิสระ ซึ่งไม่เหมือนกับจุดประสงค์ของ AngularJS, Closur, และ GWT

โดย Google เองก็ใบ้ว่าระบบ Web Component ที่อยู่ใน Google Polymer นี่แหละจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของการพัฒนา Web Application เลย

ซึ่งหมายความว่าต่อไป Google Polymer อาจจะทำงานได้เป็นอย่างดีกับทั้ง 3 ตัวก็ได้

อันนี้โค้ชพลต้องขอติดตามต่อไป

แล้ว Dart ล่ะ?

google-dart

ด้านบนอาจจะปฏิเสธว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกัน แต่ภาษา Dart (ที่มีอายุหนุ่มแน่น) กลับมีโครงการที่เชื่อมโยงกับ Polymer ที่เห็นได้ชัดคือ Polymer.dart ครับ

โดย Google ให้ข้อมูลตอนนี้เพียงแต่ ทีมงานของ Dart และ Polymer กำลังทำงานกัน “อย่างใกล้ชิด” เพื่อการทำงานที่เข้ากันได้ในอนาคตอันใกล้

หวยอาจจะไปออกที่ Dart ก็ได้ 🙂

เรื่องของ Performance ใน Google Polymer

ถ้าใครดู Session ของ Google Polymer บนเวที เขาวางแผนไว้ว่าเจ้า Polymer เนี่ยจะแสดงผลที่ความเร็ว 60 เฟรมต่อวินาที (fps)

นั่นคือเป้าหมายครับ ทีมงานบอกว่ามีหลายๆ อย่างกำลังพัฒนาอีกเยอะ

แต่ปัจจุบันถ้าคุณทดสอบ Google Polymer บน Smartphone หรือ Chrome บนคอมพิวเตอร์ปกติ คุณจะรู้สึกถึงความลื่นไหลมากๆ

สรุปว่า Google Polymer…

คือ Web Framework อีกตัวหนึงที่ Google คิดขึ้นมาเพื่อทำให้การสร้าง Web Application ยืดหยุ่นมากขึ้น โดยแบ่งส่วนต่างๆ ของเว็บเป็นชิ้นส่วนที่ใส่ หรือถอดออกได้อย่างอิสระ

โดยพัฒนาไปพร้อมๆ กับ Android L และยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนายังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ

ติดตามวิธีใช้งาน Google Polymer

ติดตามเนื้อหาของ Google Polymer ได้ที่นี่

หรือฝาก Email ไว้ที่นี่ เพื่อรับข่าวสารและวิดีโอด้านเทคโนโลยีเว็บ และการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่นี่ครับ

 

ลองคลิกเข้าไปดูแอพตัวอย่าง “Topeka” และ “Paper Calculator” จาก Polymer-project กันครับ

 

 

 

เริ่มต้นยุค AI ด้วยคอร์สฟรี และพรีเมี่ยม กับพล

หากชอบสิ่งที่พลเล่า เรื่องที่พลสอน สามารถสนับสนุนพลโดยการเข้าเรียนคอร์สออนไลน์ของพลนะคร้าบ

  • เข้าใจง่าย ใช้ได้จริง ออกแบบการสอนอย่างเข้าใจโดยโค้ชพล
  • มีคอร์สสำหรับคนใช้งานทั่วไป จนถึงเรียนรู้เพื่อใช้งานในสายอาชีพขั้นสูง
  • ทุกคอร์สมีใบประกาศณียบัตรรับรองหลังเรียนจบ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save